top of page

ทำไม Craftsmanship จึงเป็นที่นิยมในงานตกแต่ง ?

Updated: May 9, 2023

งาน Craftsmanship คือ งานที่ทำขึ้นด้วยมือโดยอาศัยความสร้างสรรค์ จินตนาการ ความคล่องแคล่ว ความชำนาญในด้านนั้น บรรจงประดิษฐ์อย่างทะนุถนอม จนเกิดเป็นผลงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ .. หนึ่งเดียวในโลก

งานฝีมือมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่ยังไม่มีเครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงใด ๆ ผู้คนจึงสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพื่อเหตุผลที่หลากหลาย ได้แก่ ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องประดับของผู้คนและนำไปตกแต่งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยด้วยฝีมือของตนเอง เป็นต้น งาน Handmade คือ งานที่ทำขึ้นด้วยมือโดยอาศัยความสร้างสรรค์ จินตนาการ ความคล่องแคล่ว ความชำนาญในด้านนั้น บรรจงประดิษฐ์อย่างทะนุถนอม จนเกิดเป็นผลงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ .. หนึ่งเดียวในโลก คนที่ประกอบงานฝีมือ คือ คนที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์สิ่งของด้วยความหลงใหล ความภูมิใจ และความทะนุถนอม แม้ในปัจจุบันนี้มีเครื่องจักร เทคโนโลยีและความล้ำสมัยที่จะผลิตสิ่งของมาตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ได้อย่างไม่จำกัดแล้วก็ตาม แต่งานที่สร้างสรรค์จากฝีมือมนุษย์ยังคงได้รับความนิยมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังเช่นปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ในชีวิตประจำวันรอบตัว เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน รวมไปถึงการตกแต่งพื้นผิวภายในและนอกอาคาร เห็นได้ชัดว่า การรังสรรค์ด้วยงานฝีมือเป็นไปได้ทั้งสิ่งของขนาดเล็กและขนาดใหญ่ระดับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตกแต่งอาคารสถานที่ด้วยงานฝีมือได้รับความนิยมทั้งในปัจจุบันนี้และจะเห็นมากขึ้นในปี 2023 เป็นต้นไปด้วยเช่นกัน งาน Craftsmanship หรือ Handmade มีคุณลักษณะพิเศษที่โดดเด่นโดนใจหลายคน แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องพิจารณาในการคัดเลือกสินค้างานฝีมือเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ ระยะเวลาในการผลิตงาน Crafted Handmade ที่นานกว่าสินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรกล และเมื่อผลิตสินค้า Handmade เหล่านั้นเสร็จแล้ว มักจะมีราคาที่สูงเพราะใช้เวลาในการผลิตที่นานกว่าและใช้ประสบการณ์ ทักษะความชำนาญจากผู้คนมากกว่านั่นเอง อย่างไรก็ตาม “ราคาสูง” แตกต่างจาก “ราคาแพง” เพราะสินค้าหรือบริการใด ๆ ที่มีราคาแพง หมายถึง ราคาที่สูงจนเกินไปเมื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการพิจารณาถึงคุณภาพ และคุณค่าที่ได้รับทั้งที่เป็นคุณค่าที่จับต้องได้และที่มีคุณค่าทางจิตใจ ดังนั้น สินค้า Handmade ส่วนใหญ่ราคาสูง แต่จะไม่แพงเนื่องจากมีทั้งคุณค่าที่ประเมินค่าตัวเงินไม่ได้ เรื่องราวที่สะสม การถ่ายทอดโดยช่างผู้มีประสบการณ์และทักษะสูงภายใต้สินค้าทำมือเหล่านั้นนั่นเอง !!


ทำไมงาน Handmade จึงเป็นนิยมมากขึ้นในการตกแต่งอาคาร ?

คุณลักษณะเด่นของงาน Handmade ที่มีต่อการตกแต่งอาคารนั้น คือ ความสามารถในการสร้าง “เอกลักษณ์เฉพาะตน” ได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้นักออกแบบหยิบงาน Handmade มาเป็นส่วนหนึ่งของงานตกแต่งด้วย ลักษณะโดยรวมของความเป็นอาคารและบ้านจะมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น เป็นโจทย์ของนักออกแบบที่จะต้องสร้างความแตกต่าง เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของรสนิยมของเจ้าของบ้าน สำนักงาน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงแรม รีสอร์ท และตัวตนของผู้ออกแบบเองด้วย ดังที่ปรากฏในภาพด้านล่างนี้ที่เป็นสถานประกอบการเกี่ยวกับความสวยงาม โดยอิงความเป็นธรรมชาติเป็นหลัก จึงเลือกที่จะถ่ายทอดให้ผู้คนได้รับรู้ผ่านผนังสไตล์ Rammed Earth หรือผนังดินอัดที่ Tanyarin (ธัญรินท์) ตกแต่งได้อย่างลงตัว บรรจงฉาบ Armourcoat ซึ่งเป็นดินจริงรุ่นพิเศษ (Clime) จากอังกฤษ เพราะ Tanyarin (ธัญรินท์) ต้องการให้เฉดสีที่ผู้ออกแบบระบุเฉดสีมาให้นั้นคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง คงไว้ซึ่งคุณภาพที่ดีอย่างนั้น Tanyarin (ธัญรินท์) บรรจงฉาบทีละชั้น ทีละสีจากซ้ายไปขวา กระบวนคิดของนักออกแบบ ถอดรหัสออกมาได้อย่างถี่ถ้วน และความสามารถในการบรรจงสร้างสรรค์ของ Tanyarin (ธัญรินท์) แบบนี้ คือ อีกหนึ่งคุณค่าของงาน Craftsmanship ชั้นสูง หรือ Luxury Handmade ที่มองข้ามไม่ได้

นอกจากรูปแบบที่งาน Handmade สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้เกิดขึ้นได้แล้วนั้น การที่นักออกแบบและเจ้าของสถานที่สามารถระบุเฉดสี ลักษณะลวดลาย และระดับราคา (Customization + Personalization) จึงเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของงาน Handmade นั่นเอง ผู้ออกแบบกำหนดเฉดสีและลวดลาย โดยให้มีทั้งองค์ประกอบ และน้ำหนักที่สมดุลย์ ได้แก่ ลวดลายและพื้นที่ว่าง เส้นสายลายเส้นที่นำสายตา รวมทั้งลักษณะการโปรยของลวดลาย เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวตามใจต้องการ


ในปัจจุบันนี้ร้านกาแฟมีดาษดื่น ดังนั้น เจ้าของร้านจำเป็นต้องทำให้ร้านของตนนั้น มีความโดดเด่น ดึงความสนใจจากผู้คนให้เข้ามาภายในร้าน เพื่อซื้อกาแฟ ถ่ายรูปตามมุมต่าง ๆ และแบ่งปันในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดและการขายต่อไป ความโดดเด่นที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของร้านปักธงทางความคิดไว้นั้น จะต้องสะท้อนภาพลักษณ์ของร้านให้ได้อีกด้วย จากภาพนั้น เป็นอีกผลงานของการปรับแต่ง Design เพื่อความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน (Customizing for Uniqueness & Personalization) ให้แก่ร้านกาแฟของตน โดยกำหนดให้ Tanyarin (ธัญรินท์) ตกแต่งผนังโดยใช้ Armourcoat รุ่น “Koncrete” ที่เป็นหินอ่อนบดละเอียดผสมกับสีเทา โดยระบุอย่างละเอียดถึงการฉาบ ที่มีน้ำหนัก และขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้ Texture และลวดลายแต่ละแถบนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังสามารถตกแต่งภายในและนอกอาคารให้เหมือนงาน Brick ได้อีกด้วย โดยสร้างสรรค์ให้มีเฉดสีความเป็นแดงส้ม Rustic แล้วฉาบตกแต่งไปทั้งผนังและเคาน์เตอร์


เมื่อผู้ออกแบบและเจ้าของสถานที่สามารถกำหนดรูปแบบ เฉดสี และงบประมาณได้ตามต้องการ การออกแบบและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานจริงให้มีความเป็นหนึ่งเดียว แบบไม่มีรอยต่อ (Seamless) จึงเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ที่ได้จากงาน Handmade ทั้งนี้ สภาวะไร้รอยต่อ (Seamless) นั้น เป็นไปได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบแนวคิดการออกแบบ ซึ่งผู้ออกแบบและเจ้าของสถานที่กำหนดให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในรูปแบบ คุมโทนสี รูปร่าง และผิวสัมผัสให้สอดคล้องกันทั้งหมด ไม่มีด้านใดด้านหนึ่งที่แปลกแตกแยกออกไป แบบที่สอง คือ การลงมือปฏิบัติหรือผลิตจริง เพื่อไม่ให้มีรอยต่อเลยตั้งแต่ฝ้าเพดาน ผนัง พื้นและเฟอร์นิเจอร์ บางครั้งอาจรวมไปถึงพื้นที่นอกอาคารอีกด้วย เป็นการแสดงศักยภาพ รสนิยมในการออกแบบและเลือกเฟ้นวัสดุได้อย่างดีเยี่ยม เพราะจำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้งานได้จริงเมื่ออยู่ภายนอกอาคาร มิใช่เพียงพิจารณาความสวยงามเพียงอย่างเดียว



หลายคนอาจคุ้นชินกับการตกแต่ง แนวงาน Handmade บนสิ่งของเครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน การตกแต่งสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนฝ้าเดพาน โคมไฟ ผนังอาคาร และเฟอร์นิเจอร์ บางคนมองข้ามเรื่องพื้นไป จนเป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของสถานที่พยามออกแบบให้เป็นแนว Seamless แต่กลับไม่มีความกลมกลืน เพราะมีความเข้าใจผิดคิดว่างาน Craftsmanship หรือ Handmade ไม่คงทนเพียงพอที่จะตกแต่งพื้น จึงได้นำวัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ตามท้องตลาดทั่วไปมาตกแต่ง แล้วต้องประสบปัญหากับการออกแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น มีรอยต่อ สีสันไม่ได้ดังใจ ไม่ได้ระดับเท่ากัน เพราะฝีมือช่างในการประกอบหรือติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นมาก ประกอบกับวิสัยทัศน์ โอกาสการเรียนรู้ และประสบการณ์ของนักออกแบบ รวมทั้งเจ้าของสถานที่นั้น เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการนำงาน MicroCement หรือ NanoCement มาใช้กับพื้น โดย Tanyarin (ธัญรินท์) นำเนื้อซีเมนต์แบบอนุภาคเล็กแต่หนาแน่นจากอิตาลีมาฉาบ โดยให้เนื้อซีเมนต์ยึดเกาะติดไปกับโครงสร้างพื้นหลักเลย เพื่อให้ยึดเกาะสูง คงทน รับน้ำหนักได้อย่างดีเยี่ยม แม้จะมีความหนาเพียง 3—4 มิลลิเมตรเท่านั้น ได้ระดับ ไม่เป็นหลุมหรือแอ่ง ไม่เกิดการแตก ไม่ร่อน ไม่ร้าวและไม่เปลี่ยนสี เพราะไม่มีกระบวนการเทซีเมนต์เพื่อปรับระดับเอง (Self—Leveling) แต่อย่างใด ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการชื่นชอบในความบางแต่คงทนมาก เพราะสามารถตกแต่งได้ทั้งอาคารใหม่ และสถานที่เดิมแต่ต้องการปรับปรุงใหม่ นอกจากนี้ งานพื้นแบบ MicroCement ยังตอบโจทย์คนรักงาน Handmade ที่สามารถเลือกเฉดสีได้ เพราะมีให้เลือกถึง 150 สี พร้อมระบุรูปแบบลวดลายที่จะปรากฏบนพื้นได้อีกด้วย เช่น การปรากฏรอยเกรียงมากหรือน้อย การมีผิวสัมผัส (Texture) รูปภาพหรืออัตลักษณ์ใด ๆ บนพื้น


นอกจากนี้ ค่านิยมรักษ์โลกสูงขึ้นทุกวัน เพราะมนุษย์เผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ และได้ตระหนักถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมและสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย แนวคิดในการใช้สิ่งของหรือวัตถุดิบในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลภาวะและขยะ จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์กรระดับสากลนำผลงาน Handmade ไปเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งอาคารสถานที่ จึงจำเป็นต้องประสานงานเพื่อยืนยันกับผู้ผลิตงาน Handmade เหล่านั้นว่า ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและแรงงานถูกกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีใบประกาศนยีบัตร (Certification) เพื่อเป็นเอกสารสำคัญยืนยันได้ นอกจากนี้ เมื่อผู้คนโหยหาเรื่องรักษ์ธรรมชาติมาก แนวคิดเรื่องการอยู่ใกล้กับธรรมชาติจึงมีมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้คนที่อาศัยในเมือง ผู้ออกแบบและเจ้าของสถานที่หลายคนจึงนำแรงบันดาลใจนี้ มาปรับประยุกต์รูปแบบให้เหมือนกับการได้อาศัยพักพิงท่ามกลางธรรมชาตินั่นเอง โดยสิ่งของเครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน ผนังและพื้นที่อื่น ๆ มีรูปทรง วัตถุดิบ ลักษณะผิวสัมผัสและโทนสีให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยสีที่ได้รับความนิยมมาก คือ สีขาว ครีม น้ำตาลและส้มอิฐ ทั้งนี้ จะต้องใช้วัตถุดิบที่ไม่ไปรบกวนหรือพลัดพรากมาจากป่าไม้ ลำน้ำและสิ่งมีชีวิตจริง ๆ รวมทั้งต้องไม่สร้างมลภาวะในกระบวนการผลิตด้วย


หลายคนพบเห็นรูปแบบนี้บ่อยครั้ง โดยที่ไม่รู้ว่านิยาม คือ อะไร แต่ชื่นชอบ หลงใหลและซึมซับมาจนถึงทุกวันนี้ แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งในปรัชญาการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น นิกายเซน ชื่อว่า “วาบิ—ซาบิ” (Wabi Sabi) โดยมีหลักแนวคิดถึงความเรียบง่าย สมถะ ความเงียบสงบ และการยอมรับของกฏธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสิ่งรอบตัว ที่ปรากฏร่องรอยความไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์แบบผ่านการเป็นอยู่ และการใช้สอยผ่านกาลเวลานั่นเอง ดังนั้น งานทำมือ (Handmade) ที่เกิดจากความประณีตของฝีมือมนุษย์ สรรสร้างอย่างตั้งใจให้เกิดเป็นความไม่เหมือนกัน และความไม่สมบูรณ์แบบ 100% ผนวกกับแนวคิดในระดับสากลเรื่องน้อยแต่มาก (Minimalism) จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้รูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคตเป็นแบบนี้ ส่งผลทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค รวมไปถึงลักษณะของงานสถาปัตยกรรมทั้งในปัจจุบันและพรุ่งนี้อีกด้วย นักออกแบบและเจ้าของสถานที่ที่คลั่งไคล้แนวคิดนี้ จึงได้กำหนดเฉดสี ระบุผิวสัมผัสและออกแบบโดยคร่าวเพื่อให้ได้อารมณ์แนวนี้เท่านั้น แล้วปล่อยให้ Tanyarin (ธัญรินท์) เติมเต็มจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ด้วยทักษะงานฝีมือที่สะสมเกือบ 20 ปี บรรเลงเป็นงานศิลปะชิ้นเอก “อย่างตั้งใจแบบไม่ตั้งใจ” ทั้งนี้ เมื่อความเป็นอยู่มีความใกล้ชิดกับความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ไม่ต้องประดิษฐ์ จัดสรรให้มากมายเกินพอดี แต่กลับมอบความสะดวกสบายทั้งใจและกายให้กับผู้อยู่อาศัยมากมาย เสริมเพิ่มเติมกับการถวิลหาอดีต และการโหยหาความสุขเฉกเช่นวันวาน ภายใต้แนวคิด “Nostalgia” นั้น ผู้ออกแบบจึงถ่ายทอดความชื่นชอบของผู้คนกลุ่มนี้ โดยการลดทอนเหลี่ยมมุมต่าง ๆ รูปทรงและโครงสร้างภายในและนอกอาคารจะเกิดเป็นโค้ง เว้า มน ทั้งผนัง เฟอร์นิเจอร์ บันได และของประดับตกแต่งบ้าน เพื่อให้ผู้คนที่เข้ามาได้ผ่อนคลาย สบายกว่าการอยู่กับความวุ่นวายด้านนอก งาน Handmade ที่ Tanyarin (ธัญรินท์) ทำด้วยมือ ฉาบที่หน้างานเลย จึงตอบโจทย์อย่างยิ่ง เพราะสามารถตกแต่งพื้นผิวให้สอดรับไปกับลักษณะโครงสร้างหลักที่โค้งอยู่แล้วโดยปราศจากรอยต่อนั่นเอง นับได้ว่า เป็นคุณสมบัติเด่นที่วัสดุสำเร็จรูปทั่วไปไม่สามารถทำได้ แม้วัสดุอื่น ๆ อาจจะโค้งเว้าได้ แต่ก็ปรากฏรอยต่อให้เห็นอยู่ดี ผู้ผลิตวัสดุบางประเภทพยามทำสีบริเวณด้านข้างของวัสดุนั้น เพื่อกลบเกลื่อนรอยต่อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ก็ทำได้เพียงแค่ลดและบรรเทาเท่านั้น







งาน Handmade สำหรับการตกแต่งอาคารมีอะไรบ้าง ?

นอกเหนือไปจากงานประดับเป็นชิ้นงานลอยตัวและนำไปตกแต่งตามมุมต่าง ๆ ภายในและนอกอาคารด้วยงานหัตถศิลป์ งานศิลปกรรมจำพวกงานปั้น งานถักทอ งานจักสาน และงานเพ้นท์แล้วนั้น ยังมีงานประเภทตกแต่งพื้นผิวที่สามารถทำการตกแต่งที่หน้างาน ติดไปบนฝ้าเพดาน ผนังและพื้นได้เลย ทำให้บริเวณนั้นประกอบไปด้วยงานศิลป์ที่สวยเด่น โดยที่ไม่จำเป็นต้องนำสิ่งของใดมาวางแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ด้วยซ้ำไป


การติดแผ่นทอง (Gilding)

หลายคนคุ้นเคยกับการติดแผ่นทองเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนิกชนที่ติดทองด้วยทองคำเปลวบนพระพุทธรูป และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เป็นรูปปั้นบูชา Tanyarin (ธัญรินท์) ได้นำแนวคิดนี้มาตกแต่งผนังและฝ้าเพดานเช่นเดียวกัน ให้มีพื้นผิวที่สุกเปล่งปลั่ง และอร่ามด้วยเฉดสีทอง เงิน ทองแดงและอื่น ๆ ความแตกต่างระหว่างการติดแผ่นทอง เงินและทองแดง และการทาสี คือ การปรากฏรอยต่อของแผ่น สร้างความประจักษ์ของงาน Handmade และส่งคุณค่าอย่างยิ่งแก่สถานที่นั้น เพราะ Tanyarin (ธัญรินท์) ต้องบรรจงติดทีละแผ่นจนเต็มพื้นที่ที่กำหนด โดยทั่วไปขนาดแต่ละแผ่น คือ 14 x 14 เซนติเมตร แต่หากเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบต้องการให้มีขนาดอื่น ๆ ที่น้อยกว่านี้ ก็สามารถระบุได้ เมื่อมีขนาดต่อแผ่นเล็กลง จะทำให้ระยะเวลาในการติดแผ่นนั้นยาวนานขึ้น มีความเป็นระเบียบในแต่ละแผ่น จะเห็นเป็นเส้นรอยต่อที่ค่อนข้างตรงทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่งานออกแบบจะต้องเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์เสมอ จึงเป็นที่มาของการประยุกต์รูปแบบให้มีความแปลกตา การติดแผ่นแบบเว้นร่องเพื่อให้เห็นเฉดสีด้านหลังที่ตัดกับสีของแผ่นเงิน / เงิน / ทองแดงเสมอนั้น ก็เป็นที่นิยมไม่น้อยเลยทีเดียว มีทั้งเว้นร่องแบบมีระเบียบและไม่มีระเบียบ มีการทำพื้นผิวเบื้องต้นให้เป็นลวดลายนูนเสียก่อน แล้วจึงติดแผ่นทองแดงแบบเว้นร่องลงไป ปรากฏเฉดสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับแผ่นทองแดงเป็นอย่างดี เป็นอีกหนึ่งแนวคิดแทนการนำงานเพ้นท์บนผ้าใบหรือกรอบรูปต่าง ๆ มาติดบนผนังนี้ การติดแผ่นให้เกิดเป็นลวดลายจากลูกเล่นเรื่องขนาดและรูปทรงแต่ละแผ่นนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน ยิ่งเสริมจินตนาการให้งานออกแบบเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี มีความแตกต่าง ตามที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการระบุ นอกจากนี้ ยังสามารถแปลงโฉมให้มีสีอื่น ๆ ได้ เช่น สีเงิน, Rose Gold, Champagne Gold เป็นต้น รวมทั้ง ให้มีผิวสัมผัสแบบด้าน เงา กึ่งเงากึ่งด้านได้และปรากฏร่องรอยความเก่าได้อีกด้วย ทั้งนี้ เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบสามารถเลือกที่จะใช้การติดแผ่นเหล่านี้ให้ปรากฏได้หลากหลาย เช่น ฝ้าเพดาน ผนัง ใต้บันได บันได เฟอร์นิเจอร์ และของประดับตกแต่งบ้านรูปทรงต่าง ๆ โดยจัดวางให้อยู่ภายในอาคาร ไม่เหมาะกับการอยู่ภายนอกหรือกึ่งภายในและภายนอก เพราะแผ่นเหล่านี้มีความอ่อนไหวกับความชื้น ความร้อน ความเปลี่ยนแปลงของอุณหูมิอย่างฉับพลัน และการติดแผ่นโดยตรงบนพื้นผิวประเภทปูนและเรซิ่น ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละแผ่นบวม เปลี่ยนสีเป็นดำ เขียว หรือซีดจางได้ แม้ Tanyarin (ธัญรินท์) จะเคลือบมัน / ด้าน / กึ่งเงากึ่งด้านให้ในขั้นตอนสุดท้ายก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากต้องการตกแต่งบนผนังปูนและพื้นผิวเรซิ่น Tanyarin (ธัญรินท์) ก็สามารถแก้ปัญหาโดยเพิ่มขั้นตอนในการทำเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ และให้งาน Design เป็นไปตามจินตนาการได้นั่นเอง แม้เราจะคุ้นเคยกับการติดแผ่นทองอยู่แล้ว แต่ขั้นตอนในการทำไม่ใช่เพียงทาของเหลวที่เหนียวคล้ายกาวแล้วติดแผ่นได้เลย จำเป็นต้องเตรียมพื้นผิวให้เนียนเรียบจริง ๆ ไม่ปรากฏร่อง รู เสี้ยนไม้ และรอยแตกใด ๆ แล้วจึงรองพื้น ทากาวติดแผ่นทอง แล้วจึงบรรจงติดทีละแผ่นได้ เมื่อเสร็จแล้ว จึงจะเคลือบเพื่อให้อายุการใช้นานยาวขึ้น





การฉาบตกแต่งผนัง (Stucco / Polished Plastering)

เป็นอีกหนึ่งแขนงของงาน Handmade ที่นำมาตกแต่งพื้นผิว Tanyarin (ธัญรินท์) ริเริ่มงานฉาบประเภทนี้เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว จนมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ ดูเหมือนว่าแนวโน้มจะสูงขึ้นด้วย เพราะงานฉาบนี้มีลูกเล่น ผิวสัมผัสหลายแบบ ส่งผลให้รูปลักษณ์ของงานออกแบบแตกต่างกันมากมาย งานฉาบสำหรับการตกแต่งอาคารมีมาตั้งแต่ต้นคศ. 1400 ในประเทศในทวีปยุโรป และยังคงใช้กันในทุกวันนี้ โดยได้รับการพัฒนารูปแบบและวัตถุดิบเรื่อยมาให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและสภาพอากาศปัจจุบัน สังเกตุลักษณะพื้นผิวที่เกิดจากงานฉาบแบบนี้ได้ง่าย คือ จะมีลักษณะคล้ายเนื้อหิน เมื่อจับสัมผัสแล้วจะมีความเย็น เพราะวัตถุดิบหลักที่ Tanyarin (ธัญรินท์) ใช้ คือ หินอ่อนบดละเอียด แล้วนำมาผสมกับสีก่อนที่จะฉาบนั่นเอง โดยจะไปฉาบที่หน้างาน ทำให้ไม่มีรอยต่อ สามารถฉาบบนพื้นที่โค้งได้ เนื้องานฉาบยึดเกาะกับพื้นผิวได้เป็นอย่างดี จึงไม่หลุดร่อนหรือแตกร้าว แม้จะมีความบางเพียง 3—4 มิลลิเมตรเท่านั้น ดูแลรักษาง่ายมาก เมื่อเป็นรอยเสียหายเล็กน้อย ก็สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทั้งหมด จึงทำให้การฉาบตกแต่งเป็นไปได้หลากหลายพื้นที่ หลายคนอาจเคยเห็นลักษณะพื้นผิวคล้ายหินแบบนี้บนผนัง ฝ้าเพดาน เฟอร์นิเจอร์ และพื้น ซึ่งปรากฏอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นทั้งภายในและภายนอกอาคาร อย่างไรก็ตาม หากผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการต้องการที่จะตกแต่งพื้นด้วยงานฉาบ Tanyarin (ธัญรินท์) จะใช้วัตถุดิบเฉพาะที่เหมาะกับงานพื้นเป็นสำคัญ และเพิ่มขั้นตอนในการทำงานฉาบมากขึ้นเพื่อให้มีคุณภาพยึดเกาะ รองรับการกดทับจากเฟอร์นิเจอร์และการสัญจรได้อย่างเต็มที่ อีกหลายคุณสมบัติที่ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการชื่นชอบงานฉาบแนวนี้ คือ การที่สามารถเลือกเฉดสีได้ตามชอบ ระบุระดับความเนียนได้ ตั้งแต่เนียนมากพิเศษไปจนถึงเนื้อหยาบ เลือกความมันเงาหรือด้านได้อีกด้วย งานฉาบรุ่นแรกจะเป็นแบบเนียน มัน เงามากเป็นพิเศษ เห็นรอยเกรียงค่อนข้างชัด โดยเฉพาะเฉดสีเข้ม แต่หากเป็นสีอ่อน จะเห็นรอยเกรียงน้อย แต่ก็พอจะเห็นอยู่บ้างเมื่อกระทบกับแสง ผนังฉาบแบบนี้เหมือนเป็นผนังหินอ่อน ชนิดที่ไม่ปรากฏสายแร่ รอยเกรียงที่เกิดขึ้นนั้น มาจากการฉาบทับไปมา ซึ่งนำมาซึ่งมิติที่ลึกลงไป เมื่อสัมผัส ก็จะเย็น Tanyarin (ธัญรินท์) เลือกใช้ Armourcoat ที่เป็นหินอ่อนบดละเอียดจากอังกฤษ นำไปผสมสี แล้วจึงฉาบที่หน้างาน ทั้งนี้ หากเจ้าของโครงการมีงบประมาณจำกัด Tanyarin (ธัญรินท์) จะนำเสนอSpiver ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากอิตาลี มีส่วนผสมของหินอ่อนน้อยลงมา ทดแทนด้วยสัดส่วนเนื้อสีและส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อมองด้วยตาเปล่าในระยะไกลจะมีความคล้ายกันมาก แต่ก็สามารถจำแนกแยกความต่างได้ด้วยตาเปล่าในระยะใกล้และการสัมผัส เนื่องด้วยมิติที่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานฉาบเนื้อละเอียดใกล้เคียงแบบนี้ แต่อยากให้มีความมันเงาน้อยลงกว่านี้ ก็สามารถระบุได้เลย ปัจจุบันนี้และเชื่อได้ว่าในปีต่อ ๆ ไป ก็ยังคงได้รับความนิยมมากอยู่ Tanyarin (ธัญรินท์) ใช้ Armourcoat จากอังกฤษเช่นเคยแต่เป็นรุ่น Smooth เพื่อให้ได้ผิวสัมผัสที่เนียน แต่ไม่มันวาว เมื่อจับสัมผัสแล้ว จะได้ความรู้สึกเนื้อพื้นผิวที่แน่น ยังคงเห็นรอยเกรียงอยู่ เฉดสีที่เจ้าของโครงการชื่นชอบมันเป็นสีขาว ครีม น้ำตาลอ่อน และเขียว จากภาพทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การที่ปรากฏรอยเกรียงและปื้นสีเป็นช่วง ๆ จังหวะนั้น เป็นสเน่ห์ของงานฉาบชนิดนี้ แทนการทาสีธรรมดาซึ่งจะทำให้ห้องนั้น ๆ ขาดมิติไป งานฉาบแบบ Smooth นี้มีความบางประมาณ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น จึงเหมาะมากกับการตกแต่งสถานที่ใหม่ หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงสถานที่เดิม (Renovation) นอกจากนี้ ยังดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่ายมาก เพียงใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาใด ๆ





บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจะใช้งานฉาบรุ่น Armourcoat Smooth นี้ผนวกกับงาน MicroCement Floor เพื่อให้มีความเหมือนกันทั้งฝ้าเพดาน ผนังและพื้นนั่นเอง Tanyarin (ธัญรินท์) ก็จะใช้ Spiver จากอิตาลี รุ่น MicroCement Floor สีเดียวกับผนังในการ “ฉาบ” ตกแต่งพื้น ไม่ใช่การเทของเหลวแล้วปล่อยให้ของเหลวนั้นปรับระดับได้เองหรือที่คุ้นเคยกับคำว่า “Self—Leveling” เพราะ Tanyarin (ธัญรินท์) ต้องการให้เนื้อวัตถุดิบซีเมนต์เนื้อนาโนที่ผสมกับสีแล้วนี้ยึดเกาะกับพื้นผิวโครงสร้างหลักได้ดีกว่า ไม่แตกร้าว ไม่ร่อน และสีไม่เปลี่ยนในอนาคต สามารถอยู่ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร สำหรับ Spiver รุ่น MicroCement Floor ที่ใช้กับงานภายในอาคารนั้น เป็นวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco—Friendly) 100% ทั้งนี้ งานฉาบตกแต่งพื้นของ Tanyarin (ธัญรินท์) นั้นสามารถตกแต่งได้ทั้งพื้นที่สัญจรไปมาทั่วไป เช่น บ้าน สถานที่ทำงาน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์และห้องน้ำทั้งโซนเปียกและโซนแห้ง ไม่ลื่น ไม่เป็นรอยแต่อย่างใด บางประมาณ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น ไม่มีรอยต่อ สามารถฉาบบนพื้นที่โค้งได้เลย มีสีให้เลือกกว่า 150 สี พร้อมระบุผิวสัมผัสได้ เช่น เรียบ มีรูพรุน มีแผลคล้ายหลุดร่อน เหมือนเลียนแบบของเก่า มีกากเพชร มีความวาว มีแบบลายเป็นโลโก้ หรือเป็นรูปทรงใด ๆ ปรากฏอยู่บนพื้น เป็นต้น การดูแลและทำความสะอาดก็ง่าย เพียงใช้ผ้าชุบน้ำ อาจจะใส่น้ำยาถูพื้นทั่วไป เช็ดถูเท่านั้น ไม่มีความยุ่งยากแต่อย่างใด โดยก่อนฉาบตกแต่งพื้นจำเป็นต้องปรับพื้นให้ได้ระดับ รองพื้น แล้วจึงจะฉาบได้ ใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 10—14 วัน ไม่ควรเร่งงาน เพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการยึดเกาะได้ เพราะในแต่ละขั้นตอน ต้องอาศัยความประณีต และรอให้แห้งสนิทจริง ๆ ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนต่อไปได้


อีกหนึ่งงาน Concrete ที่ Tanyarin (ธัญรินท์) นำ Armoucoat จากอังกฤษรุ่น “Koncrete” และ Spiver จากอิตาลีมาฉาบนั้น จะมีเนื้อหินบดละเอียดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย สามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายเฉดสีแบบไม่จำกัดจริง ๆ นำไปตกแต่งได้ทั้งภายในและนอกอาคาร แม้จะมีขนาดเนื้อหินบดละเอียดขนาดใหญ่ขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้พื้นผิวหยาบ สาก กระด้างแต่อย่างใด เมื่อจับลูบพื้นผิวแล้ว ก็สัมผัสได้ถึงความเนียนนุ่มเช่นเคย นักออกแบบและเจ้าของโครงการสามารถเลือกรูปแบบ ลวดลายที่ปรากฏและเฉดสี เพราะ Tanyarin (ธัญรินท์) สามารถฉาบแบบเนียนเรียบ มีรูพรุน มีรอยขรุขระ มี Texture ทำให้เหมือนปูนอันโดะ และปูนไม้แบบก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ปูนไม้แบบของ Tanyarin (ธัญรินท์) นั้น ไม่ใช่การหล่อและไม่ใช่การพิมพ์ลาย แต่เป็นการนำหินอ่อนบดละเอียด จากอังกฤษและอิตาลีมาฉาบทีละเส้น ทำลวดลายแต่ละแถบ ให้ปรากฏเป็นลายไม้บ้าง และตาไม้บ้าง จึงทำให้นักออกแบบและเจ้าของสถานที่ระบุขนาดแต่ละแถบ ผิวสัมผัส เฉดสีและรายละเอียดด้านอื่น ๆ ได้ตามชอบทุกอย่าง สามารถทำได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร อยู่ได้ทั้งฝ้าเพดาน ผนังและเฟอร์นิเจอร์




นอกจากลวดลายปูนไม้แบบแล้ว ยังสามารถใช้วัตถุดิบเดียวกันนี้ฉาบ และสร้างลวดลายให้เกิดเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลโก้ขององค์กรต่าง ๆ ให้ปรากฏขั้นได้ ผนวกกับการสร้างสีสัน เพื่อขับให้เด่นชัดมากขึ้น สามารถนำไปตกแต่งพื้นผิวได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร อยู่ได้ทั้งบนฝ้าเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และของประดับตกแต่งบ้านแบบลอยตัว



นอกจากนี้ การฉาบ Armourcoat แนว Wabi—Sabi เพื่อให้เกิดรูพรุน รอยแผลเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพื่อให้เกิดสอดคล้องกับการตกแต่งแนว Minimalism และความไม่สมบูรณ์แบบนั้น Tanyarin (ธัญรินท์) ก็ฉาบให้ได้เพื่อตกแต่งทั้งภายในและนอกอาคาร สามารถอยู่ได้ทั้งฝ้าเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และชั้นวางสินค้าในร้านค้า โดย Tanyarin (ธัญรินท์) จะคัดเลือกวัตถุดิบที่หินอ่อนบดที่มีขนาดเม็ดหินอ่อนที่ใหญ่ขึ้น มาผสมกับสีที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการต้องการ ฉาบโดยตรงบนพื้นผิวที่ได้รับการรองพื้น และปรับพื้นผิวแล้วเรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีรอยต่อ สามารถฉาบบนพื้นที่โค้งด้วย เฉดสีที่นิยม คือ สีขาว ครีม น้ำตาล น้ำเงิน เทาและดำ ราคาต่อตารางเมตรของเฉดสีเข้มนั้น จะสูงกว่าเฉดสีอ่อน เพราะต้องใช้ Pigment ของสีมากขึ้น สำหรับการดูแลรักษานั้น สะดวกสบายต่อผู้ใช้ และผู้อยู่อาศัยมาก เพราะใช้เพียงผ้าชุบน้ำพอหมาด เช็ดทำความสะอาดเบา ๆ ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งนั้น


สำหรับการฉาบด้วย Armourcoat และ Spiver นี้ ไม่ว่าจะเป็นการฉาบเรียบ ฉาบแล้วมีลวดลาย หรือฉาบแล้วหลุดร่อนแบบนี้ สามารถฉาบได้บนไม้อัดยาง แผ่นยิปซั่ม ผนังปูน แต่ไม่แนะนำ MDF และ HMR เพราะจะแตกร้าวบริเวณรอยต่อได้ เพราะ MDF และ HMR นั้น มีความยืดหยุ่นมากกว่าวัสดุประเภทอื่น ๆ ก่อนที่ฉาบนั้น จำเป็นต้องเก็บรอยต่อ และรองพื้นให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะฉาบได้ มิฉะนั้น อาจประสบปัญหาเรื่องการยึดเกาะได้ เมื่อฉาบได้รูปแบบและเฉดสีที่ต้องการแล้ว Tanyarin (ธัญรินท์) ก็จะเคลือบ โดยน้ำยาที่เคลือบนั้น เป็นแบบ Lifetime (เคลือบเพียงครั้งเดียว อยู่ได้ตลอดอายุการใช้งาน) ส่งผลให้จะไม่มีฝุ่นผงที่จะหลุดออกมาจากพื้นผิวนั้น ผู้ใช้และผู้อยู่อาศัยไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่นและสารระเหยใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินลมหายใจ เพราะ Tanyarin (ธัญรินท์) ใช้วัตถุดิบที่ไม่มี VOC ดังนั้น มีความปลอดภัยให้ทั้งทีมงาน Tanyarin ซึ่งเป็นผู้ฉาบ และเจ้าของโครงการซึ่งเป็นผู้ใช้สถานที่นั้น ๆ


การตกแต่งพื้นผิวด้วยเทคนิคสีพิเศษ (Special Paint)

นอกเหนือไปจากงานฉาบหินอ่อนบดละเอียดที่ผสมกับสีแล้วนั้น Tanyarin (ธัญรินท์) ยังตกแต่งพื้นผิวในส่วนต่าง ๆ ทั้งฝ้าเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านแบบลอยตัวด้วยเทคนิคสีพิเศษอีกด้วย โดยที่ความพิเศษนี้ หมายถึง การมีรายละเอียดเรื่องรูปแบบ ผิวสัมผัส ความแวววาว และมิตินั่นเอง เช่น การมีกากเพชร มีเกล็ดเมทัลลิค มีมุกผสม เทคนิคสีสนิม และ Faux Finish เป็นต้น บางสีจะอยู่ได้ทั้งภายในและนอกอาคาร แต่กลุ่มสีประเภทเหลือบมุกนั้น จะอยู่ได้เฉพาะแต่ภายในเท่านั้น สามารถใช้เกรียงในการฉาบสี ใช้พู่กัน และใช้พ่นก็ได้ ซึ่งจะให้คุณลักษณะแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักออกแบบ และเจ้าของโครงการ โดยเตรียมพื้นผิวให้เนียนเรียบ ไร้รอยต่อ อุดโป๊ว เก็บเสี้ยนและปิดรูพรุน แล้วจึงทารองพื้น รอแห้ง แล้วจึงลงสี เฉดสีเข้มจะเปล่งประกายเล่นกับแสงได้ดีกว่าเฉดสีอ่อน แต่ราคาต่อตารางเมตรก็จะขยับสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะใช้ปริมาณเนื้อสีมากขึ้น อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไม่มีสาร VOC ด้วย จึงปลอดภัยทั้งทีมงาน Tanyarin และเจ้าของซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้สถานที่นั้น ๆ ด้วย เมื่อเป็นรอยเสียหายเล็กน้อย ก็สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทั้งหมด



นอกจากนี้ ยังมีประเภทสีพิเศษอีก คือ ประเภทที่เป็นเนื้อทรายและผสมเกล็ดเงิน, ทองและทองแดงด้วย ซึ่ง Tanyarin (ธัญรินท์) ใช้ทั้งพ่นและฉาบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ออกแบบและเจ้าของ การพ่นหรือฉาบทรายพร้อมเกล็ดเหล่านี้ สามารถนำไปตกแต่งได้ทั้งภายในและนอกอาคาร ปรากฎได้ทั้งฝ้าเพดาน เสากลม ผนัง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ทั้งนี้ ผู้ออกแบบและเจ้าของสถานที่สามารถระบุได้ด้วยว่า ต้องการเกล็ดเงิน ทอง ทองแดง หรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ โดยที่จะพ่นหรือฉาบได้หลังจากที่เตรียมพื้นผิวให้พร้อมแล้ว โดยไม่มีรอยต่อ และลงรองพื้นเรียบร้อยแล้วด้วย เมื่อเป็นรอยเสียหายเล็กน้อย ก็สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทั้งหมด


เทคนิคสีพิเศษยังรวมไปถึงการตกแต่งพื้นผิวประเภท Faux Finish อีกด้วย ซึ่งเป็นการตกแต่งพื้นผิวโดยเลียนแบบสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ การเพ้นท์ลายหินอ่อนให้ปรากฏสายแร่ การเพ้นท์ท้องฟ้า การทำสนิม การทำพื้นผิวให้แตกเหมือนของเก่า เป็นต้น การทำพื้นผิวให้ย้อนยุคด้วยเทคนิคสีพิเศษ เป็นอีกหนึ่งแขนงของ Faux Finish นั่นเอง ใช้เทคโนโลยีของสีและสื่อผสม มาสร้างลูกเล่นต่าง ๆ และสรรสร้างออกมาให้เสมือนจริงได้โดยไม่ต้องให้พื้นผิวนั้น ๆ เก่าจริง เช่น การทำพื้นผิวให้แตกเหมือนเปลือกไข่ หรือลายแตกเสี้ยนไม้ รวมทั้งการย้อมรมดำให้ Antique ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การทำเทคนิคสนิมที่เคยได้รับความนิยมอยู่มากนั้น มี 2 ชนิด ได้แก่ สนิมที่เกิดจากทำเทคนิคสี ซึ่งผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการสามารถกำหนดโทนสีและตำแหน่งของสนิมได้ และสนิมที่เกิดจากการกัดกร่อนได้จากการทา/พ่นสี ผงเหล็กและสสารที่เร่งปฏิกิริยา (Rust Oxidation & Patina) เมื่อสสารเหล่านี้เริ่มทำปฏิกิริยาแล้ว รอจนกว่าจนได้ผลลัพธ์เฉดสนิมตามต้องการ สนิมที่เกิดจากการกัดกร่อนจริงนั้น จะไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งที่จะเกิดสนิมและโทนสีสนิม เพราะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในบริเวณและในวันนั้น หากอากาศเย็นและชื้น จะใช้เวลาในการเกิดสนิมนานกว่าปกติ และอาจจะได้โทนสีเขียว น้ำตาลเข้ม แต่หากอากาศร้อน จะได้สนิมที่เปลี่ยนจากสีเขียว น้ำตาลเข้มไปเป็นสีส้ม ทั้งนี้ ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการสามารถระบุโทนสีสนิมที่ต้องการโดยคร่าว และสามารถให้เคลือบผลงานได้เลยในระหว่างที่ทำปฏิกิริยาโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เปลี่ยนเป็นสีส้มก็ได้ จากภาพนั้น Tanyarin (ธัญรินท์) เตรียมพื้นผิวเพื่ออุดรอยต่อและรูพรุนต่าง ๆ รองพื้น และทำ Texture ให้เป็นลวดลายนูน เช่น เป็นหมุดเหล็ก ทำเหมือนลวดลายแผ่นเหล็กที่พื้น ทำเว้นร่องให้เหมือนแผ่นเหล็ก เป็นต้น เมื่อแห้งแล้ว จึงทำขั้นตอนการทำสนิม พร้อมใส่สสารเร่งปฏิกิริยา เมื่อพอใจระดับสนิมแล้ว จึงเคลือบ สีสนิมจะไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีฝุ่นผงเหล็กหลุดออกมา ผลงานสนิมทั้ง 2 ชนิด สามารถอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร






นับได้ว่า งานหัตถศิลป์มีความจำเป็นต่องานสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน และอนาคตเป็นอย่างมาก เพราะเอื้อต่องานออกแบบ ให้มีความโดดเด่นในผลงาน มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแก่สถานที่ สะท้อนถึงรสนิยมที่เป็นเอกลักษณ์แก่เจ้าของ และตัวผู้ออกแบบเอง รวมทั้งแก้ปัญหาให้กับวงการนักออกแบบที่สามารถเติมเต็มทุกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์แบบโลดโผนให้เป็นจริงได้ โดยเคียงคู่กับคุณภาพและคุณค่าที่เป็นอนันต์ ยังมีบทความดี ๆ ให้ความรู้เรื่องงานตกแต่งผิวแนว Craftsmanship หรือ Handmade อีกมาก แล้วติดตามกันในบทความต่อ ๆ ไปนะคะ

Recent Posts

See All
bottom of page